1. คำถามที่พบบ่อย
  2. ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย - สิ่งที่ผู้ซื้อบ้านต้องรู้
  3. ซื้อบ้านในกรุงเทพฯ: ขั้นตอนและเทคนิคการเตรียมตัว
  4. ราคาประเมินที่ดิน 2566: อับเดตข้อมูลสำหรับผู้ซื้อ-ขาย

ราคาประเมินที่ดิน 2566: อับเดตข้อมูลสำหรับผู้ซื้อ-ขาย

FazWaz.co.th
โดย FazWaz.co.th
Gate Thanyathorn
แก้ไขโดย Gate Thanyathorn
Panatda Choochuay
ตรวจสอบโดย Panatda Choochuay
ราคาประเมินที่ดิน 2566

ราคาประเมินที่ดินเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อที่ดิน, บ้าน, คอนโด หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ เพราะมันเป็นข้อมูลที่ใช้ในการประเมินมูลค่าที่ดิน และเป็นตัวกำหนดภาษีที่คุณต้องชำระ ดังนั้นคุณจึงควรศึกษาข้อมูลราคาประเมินที่ดินอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และที่สำคัญไปกว่านั้นราคาประเมินที่ดินไม่เพียงแต่เป็นข้อมูลที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการตัดสินใจซื้อขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการวางแผนการลงทุน และการจัดทำงบประมาณส่วนตัว หรือธุรกิจต่าง ๆ อีกทั้งราคาประเมินที่ดินยังเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนของความเคลื่อนไหวในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ดังนั้นในบทความนี้เราทาง Fazwaz จะนำเสนอข้อมูลอับเดตล่าสุดปี 2566 และเน้นย้ำความสำคัญของการทราบราคาประเมินที่ดินเพื่อสร้างอนาคตทางการเงินและการลงทุนที่มั่นคงให้กับคุณ!

ราคาประเมินที่ดินคืออะไร?

ราคาประเมินที่ดิน คือ การประเมินราคาทรัพย์สินรูปแบบหนึ่งจากกรมธนารักษ์ ซึ่งจะทำการประเมินราคาที่ดินเพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการซื้อขายที่ดินในปัจจุบันจะมีการกำหนดราคาประเมินที่ดิน ได้จาก 3 ทาง ได้แก่

1. ราคาประเมินที่ดินจากกรมธนารักษ์

ราคาประเมินที่ดินที่ได้จากกรมธนารักษ์ เป็นข้อมูลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อมูลที่ครอบคลุม ซึ่งทางกรมธนารักษ์ได้อัปโหลดข้อมูลเกี่ยวกับราคาประเมินที่ดินไว้ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบและเปรียบเทียบราคาได้จากบนเว็บไซต์กรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ที่จะซื้อที่ดินหรือจะขายที่ดินเพื่อให้ได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นและสามารถกำหนดราคาได้อย่างเหมาะสมด้วยตัวเองนั่นเอง

สำหรับการค้นหาราคาประเมินที่ดินนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยาก คุณสามารถค้นหาได้จากเลขที่โฉนดที่ดิน, เลขที่ดิน, ราคาประเมินอาคารชุด, ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน, ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้านเดี่ยว, ตึกแถว, ทาวน์เฮ้าส์, ตลาด, คลังสินค้า, ท่าเทียบเรือ, โรงเแรม, โรงงาน, สถานพยาบาล, ลานกีฬาอเนกประสงค์ และโรงมหรสพ เป็นต้น

ในส่วนของราคาประเมินที่ดินในกรุงเทพฯ จะมีข้อมูลเจาะลึกไปอีก ซึ่งจะต้องนำราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่กำหนดไว้เป็นรอบ ๆ มาอัปโหลดไว้ให้ประชาชนได้รับทราบด้วย

แต่หากคุณต้องการทราบราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ละเอียดและชัดเจนมากขึ้น สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานที่ดินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ

2. ราคาประเมินที่ดินของภาคเอกชน

ราคาประเมินที่ดินที่ได้จากภาคเอกชน คือการประเมินราคาจากผู้เชี่ยวชาญด้านราคาที่ดินของบริษัทเอกชนต่าง ๆ อาทิ บริษัทที่ปรึกษาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, บริษัทประเมินราคาที่ดิน และสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่มีหน่วยงานประเมินราคาที่ดิน เป็นต้น ซึ่งราคาประเมินที่ดินที่ได้จากบริษัทเอกชนนี้มีจุดเด่นอยู่ตรงที่เป็นราคากลางที่เอามาจากราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์และราคาจริงของตลาด โดยบริษัทเอกชนแต่ละแห่งจะมีเกณฑ์ในการกำหนดราคากลางของแต่ละพื้นที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นราคาประเมินของบริษัทเอกชนจะมีราคากลางที่แตกต่างกันในพื้นที่เดียวกัน แต่ก็แตกต่างกันไม่มากนัก

3. ราคาตลาด

ราคาตลาด คือ ราคาที่มีการซื้อขายที่ดินกันจริง ๆ ในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งมีทั้งราคาจากฝั่งผู้ซื้อ และราคาจากฝั่งผู้ขาย ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ซื้อและผู้ขายที่ดินเป็นผู้กำหนดราคาตลาดนั่นเอง ซึ่งในบางพื้นที่ราคาตลาดก็อาจมีราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาประเมินที่ดินของบริษัทเอกชนได้ และในบางพื้นที่ราคาตลาดกับราคาประเมินที่ดินของบริษัทเอกชนอาจจะใกล้เคียงกันหรือเป็นราคาเดียวกันก็ได้ขึ้นอยู่กับความนิยมของพื้นที่นั้น ๆ

วิธีตรวจสอบราคาประเมินที่ดินออนไลน์ด้วยตัวเอง

โดยปกติแล้วนั้นหากคุณต้องการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินแต่ละแห่งจะต้องไปติดต่อที่กรมที่ดิน แต่สำหรับคนไม่สะดวกในการเดินทางไปกรมที่ดิน ก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดินออนไลน์ได้แล้วผ่านเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ และขั้นตอนการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินนั้นก็ง่ายมาก อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งยังสามารถตรวจสอบได้ทั้งแบบที่มีโฉนดที่ดินและแบบไม่มีโฉนดที่ดิน โดยมีวิธีการตรวจสอบต่างกัน ดังนี้

การตรวจราคาประเมินที่ดินแบบมีโฉนด:

การตรวจสอบราคาประเมินที่ดินแบบมีโฉนดสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเริ่มต้นด้วยการเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมและทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:

  • เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ 
  • ค้นหาราคาประเมินที่ดินโดยมี 2 วิธีให้เลือก:
  • ค้นจากเลขที่โฉนด: ใส่เลขที่โฉนด, หน้าสำรวจ, และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินลงไป
  • ค้นหาจากเลขที่ดิน: ใส่เลขที่ดิน, ระวาง, และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินลงไป
  • ราคาประเมินที่ดินจะแสดงขึ้นมาเป็นตารางทางด้านขวามือ

Find-with-Chanote

การตรวจราคาประเมินที่ดินแบบไม่มีโฉนด:

สำหรับผู้ที่อยากทราบราคาประเมินที่ดินแต่ไม่มีโฉนด การตรวจสอบราคาประเมินที่ดินแบบไม่มีโฉนดก็ง่ายมาก ๆ คุณสามารถทำได้ตามขั้นตอนนี้:

  • เข้าเว็บไซต์ "ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน" ของกรมที่ดิน หรือเปิดใช้งานแอปพลิเคชัน Landmaps
  • ซูมเข้าไปในแผนที่เพื่อค้นหาที่ตั้งที่ดินที่คุณต้องการตรวจสอบราคา หรือค้นหาจากจังหวัด, อำเภอ, ตำบล หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญในบริเวณใกล้เคียง การใช้งานง่ายคล้ายกับ Google Maps
  • คลิกบนที่ตั้งที่ดินที่คุณต้องการตรวจสอบราคา 2 ครั้ง จากนั้นระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินและแสดงราคาประเมินที่ดินให้คุณได้ทราบ

Fine-with-none-Chanote

ราคาประเมินที่ดินมีประโยชน์ในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์อย่างไร?

การทราบราคาประเมินที่ดินมีประโยชน์สำหรับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในหลายด้าน โดยปกติแล้วราคาประเมินที่ดินนั้นถูกนำมาใช้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้, ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ในกรณีที่ต้องโอนสิทธิ์การเช่า รวมไปถึงกระบวนการซื้อ-ขายที่ดิน เพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียในการทำนิติกรรมทางด้านอสังหาริมทรัพย์ นอกจากประโยชน์ที่เจ้าของที่ดินจะได้รับจากการรู้ราคาประเมินที่ดินของตัวเองแล้ว สำหรับผู้ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ยังมีประโยชน์อื่น ๆ มากมายดังนี้:

  • ช่วยในการวางแผนการเงิน: ราคาประเมินที่ดินสามารถนำมาคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีเงินได้, ภาษีอากร และภาษีแสตมป์ก่อนวันที่โอนที่แน่นอน ทำให้คุณสามารถวางแผนการเงินล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
  • ช่วยในการตัดสินใจลงทุน: ราคาประเมินที่ดินสามารถนำมาวิเคราะห์ศักยภาพของทำเลและโครงการในอนาคต เพื่อช่วยในการตัดสินใจลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้แม่นยำมากขึ้น
  • นำไปใช้ในการต่อรอง: ราคาประเมินที่ดินสามารถนำมาใช้ในกระบวนการต่อรองในการลงทุนและการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นข้อมูลที่สำคัญเพื่อกำหนดราคาในการเจรจาและต่อรองได้อย่างเป็นธรรม

ราคาประเมินที่ดินในประเทศไทยปี 2566

กรมธนารักษ์ได้ประกาศปรับราคาประเมินที่ดินใหม่สำหรับปี 2566-2569 นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นมา ภายหลังจากการเลื่อนปรับราคาในช่วงตั้งแต่ปี 2564 เพื่อลดภาระของประชาชนผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อีกทั้งยังบรรเทาภาระในยามสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งในปีนี้ราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศมีการปรับขึ้นเฉลี่ย 8% แต่สำหรับกรุงเทพฯ มีการปรับขึ้นสูงสุดเพียง 3% เท่านั้น และเป็นทำเลใจกลางเมืองใกล้แนวรถไฟฟ้า ได้แก่ ถนนสีลม, วิทยุ, เพลินจิต และพระราม 1 (บริเวณหน้าสยามสแควร์ถึงถนนเพลินจิต) ซึ่งมีราคาประเมินสูงสุดถึง 1,000,000 บาท/ตารางวา และสำหรับราคาประเมินที่ดินอับเดตล่าสุดทั่วประเทศไทยจะมีราคาเท่าไรกันบ้างไปอ่านกันเลย!

ราคาที่ดินปี 2566: ของ 77 จังหวัดไทย

ทาง Fazwaz ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลอับเดตราคาประเมินที่ดินจากกรมธนารักษ์ในปี 2566 ซึ่งครอบคลุมทั้งในทำเลใจกลางเมืองกรุงเทพฯ และทุกจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดในเมืองไทย ซึ่งมีราคาต่างกันดังรายละเอียดด้านล่างนี้

Land-price-in-Bangkok-2023

ราคาประเมินที่ดินทั้ง 77 จังหวัดทั่วไทย ปี 2566

การแบ่งแยกภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศไทยนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของประเทศ นอกจากนี้ ในแต่ละจังหวัดยังมีราคาประเมินที่ดินที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตามสภาพแวดล้อมและความนิยมของแต่ละภูมิภาค ซึ่งราคาประเมินที่ดินทั้ง 77 จังหวัดทั่วไทย ปี 2566 แบ่งตามภูมิภาค ได้ดังนี้

ภาคกลาง

  • กรุงเทพฯ             1,300 - 1,000,000 บาท ต่อตารางวา
  • นนทบุรี                1,300 - 170,000 บาท ต่อตารางวา
  • สมุทรปราการ       1,000 - 160,000 บาท ต่อตารางวา
  • ปทุมธานี              1,000 - 100,000 บาท ต่อตารางวา
  • สมุทรสาคร           500 - 70,000 บาท ต่อตารางวา
  • นครปฐม               200 - 80,000 บาท ต่อตารางวา
  • สมุทรสงคราม       300 - 53,000 บาท ต่อตารางวา
  • อุทัยธานี              175 - 50,000 บาท ต่อตารางวา
  • พิจิตร                   75 - 37,500 บาท ต่อตารางวา
  • อ่างทอง               250 - 60,000 บาท ต่อตารางวา
  • อยุธยา                 300 - 60,000 บาท ต่อตารางวา
  • กำแพงเพชร         200 - 40,000 บาท ต่อตารางวา
  • ลพบุรี                  100 - 100,000 บาท ต่อตารางวา
  • สุพรรณบุรี            130 - 70,000 บาท ต่อตารางวา
  • นครนายก             400 - 73,500 บาท ต่อตารางวา
  • สระบุรี                  150 - 75,000 บาท ต่อตารางวา
  • สิงห์บุรี                 250 - 75,000 บาท ต่อตารางวา
  • นครสวรรค์            200 - 107,500 บาท ต่อตารางวา
  • เพชรบูรณ์             100 - 40,000 บาท ต่อตารางวา
  • สุโขทัย                100 - 64,000 บาท ต่อตารางวา
  • ชัยนาท                180 - 45,000 บาท ต่อตารางวา
  • พิษณุโลก             50 - 100,000 บาท ต่อตารางวา

ภาคเหนือ

  • แพร่                     180 - 42,500 บาท ต่อตารางวา
  • พะเยา                  380 - 58,000 บาท ต่อตารางวา
  • ลำพูน                  150 - 100,000 บาท ต่อตารางวา
  • น่าน                     150 - 65,000 บาท ต่อตารางวา
  • แม่ฮ่องสอน          150 - 52,000 บาท ต่อตารางวา
  • ลำปาง                  250 - 100,000 บาท ต่อตารางวา
  • เชียงราย               175 - 85,000 บาท ต่อตารางวา
  • อุตรดิตถ์               90 - 60,000 บาท ต่อตารางวา
  • เชียงใหม่              100 - 250,000 บาท ต่อตารางวา
  • ตาก                      230 - 62,500 บาท ต่อตารางวา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

  • บึงกาฬ                 200 - 17,500 บาท ต่อตารางวา
  • อุดรธานี                250 - 180,000 บาท ต่อตารางวา
  • มหาสารคาม          250 - 60,000 บาท ต่อตารางวา
  • หนองคาย             200 - 45,000 บาท ต่อตารางวา
  • อุบลราชธานี          50 - 110,000 บาท ต่อตารางวา
  • ร้อยเอ็ด                100 - 80,000 บาท ต่อตารางวา
  • เลย                      150 - 55,000 บาท ต่อตารางวา
  • หนองบัวลำภู         200 - 35,000 บาท ต่อตารางวา
  • กาฬสินธุ์               250 - 33,500 บาท ต่อตารางวา
  • สุรินทร์                  130 - 60,000 บาท ต่อตารางวา
  • สกลนคร                230 - 75,000 บาท ต่อตารางวา
  • บุรีรัมย์                   150 - 50,000 บาท ต่อตารางวา
  • อำนาจเจริญ           230 - 20,000 บาท ต่อตารางวา
  • นครพนม                200 - 50,000 บาท ต่อตารางวา
  • ศรีสะเกษ               130 - 40,000 บาท ต่อตารางวา
  • นครราชสีมา           100 - 130,000 บาท ต่อตารางวา
  • ยโสธร                    200 - 44,000 บาท ต่อตารางวา
  • มุกดาหาร                210 - 35,000 บาท ต่อตารางวา
  • ขอนแก่น                110 - 200,000 บาท ต่อตารางวา
  • ชัยภูมิ                     75 - 53,500 บาท ต่อตารางวา

ภาคตะวันออก

  • ฉะเชิงเทรา              400 - 50,000 บาท ต่อตารางวา
  • ระยอง                     200 - 125,000 บาท ต่อตารางวา
  • ปราจีนบุรี                 200 - 45,000 บาท ต่อตารางวา
  • สระแก้ว                   200 - 25,000 บาท ต่อตารางวา
  • ตราด                       150 - 71,000 บาท ต่อตารางวา
  • จันทบุรี                    130 - 90,000 บาท ต่อตารางวา
  • ชลบุรี                       400 - 220,000 บาท ต่อตารางวา

ภาคใต้ 

  • ภูเก็ต                       3,200 - 200,000 บาท ต่อตารางวา
  • นราธิวาส                 150 - 85,000 บาท ต่อตารางวา
  • พังงา                       250 - 50,000 บาท ต่อตารางวา
  • พัทลุง                     200 - 150,000 บาท ต่อตารางวา
  • ยะลา                      130 - 170,000 บาท ต่อตารางวา
  • ปัตตานี                   180 - 51,000 บาท ต่อตารางวา
  • ระนอง                    150 - 81,000 บาท ต่อตารางวา
  • ชุมพร                     130 - 87,500 บาท ต่อตารางวา
  • สตูล                       130 - 96,000 บาท ต่อตารางวา
  • กระบี่                      250 - 72,500 บาท ต่อตารางวา
  • สุราษฎร์ธานี            200 - 150,000 บาท ต่อตารางวา
  • สงขลา                    200 - 400,000 บาท ต่อตารางวา
  • ตรัง                         200 - 150,000 บาท ต่อตารางวา
  • นครศรีธรรมราช        100 - 200,000 บาท ต่อตารางวา

ภาคตะวันตก 

  • กาญจนบุรี              150 - 60,000 บาท ต่อตารางวา
  • เพชรบุรี                  150 - 100,000 บาท ต่อตารางวา
  • ประจวบคีรีขันธ์        300 - 150,000 บาท ต่อตารางวา
  • ราชบุรี                    200 - 100,000 บาท ต่อตารางวา

ราคาที่ดินใน 6 ทำเลเด่น

หลังจากที่ทราบข้อมูลราคาประเมินที่ดินจากรมธนารักษ์ไปแล้ว ทาง Fazwaz ก็ได้ไปสืบค้นราคาที่ดินในปัจจุบันในทำเลเด่น ๆ ของประเทศไทยทั้ง 6 ทำเล ได้แก่ กรุงเทพ, ภูเก็ต, พัทยา, หัวหิน, เชียงใหม่ และสมุย ซึ่งเป็นข้อมูลราคาที่ดินล่าสุดจากเว็บไซต์ของกรมที่ดิน ที่มีการรวบรวมข้อมูลไว้ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

จังหวัด ราคาต่อตารางวา (บาท) จุดเด่น ความนิยม
กรุงเทพมหานคร 1,000,000 - 20,000,000 เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม มีระบบสาธารณูปโภคครบครัน เดินทางสะดวก 80%
ภูเก็ต 500,000 - 10,000,000

เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว มีชายหาดที่สวยงาม น้ำทะเลใสสะอาด ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์

15%
พัทยา 300,000 - 5,000,000

เป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลยอดนิยม มีชายหาดที่สวยงาม แหล่งบันเทิงและสถานบันเทิงมากมาย

5%
หัวหิน 200,000 - 3,000,000

เป็นเมืองตากอากาศชายทะเลยอดนิยม มีชายหาดที่สวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี

5%
เชียงใหม่ 100,000 - 2,000,000

เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศไทย มีชื่อเสียงด้านวัฒนธรรมและธรรมชาติ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สำคัญ

5%
สมุย 400,000 - 6,000,000

เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว มีชายหาดที่สวยงาม น้ำทะเลใสสะอาด ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์

5%

จากตารางสามารถสรุปได้ว่าที่ดินในกรุงเทพ มีราคาสูงสุดและได้รับความนิยมในการซื้อ-ขายมากที่สุดถึง 85% เนื่องจากเป็นเมืองหลวงของประเทศที่มีการเติบโตตลอดเวลา และรองลงมาคือ ภูเก็ต ที่ได้รับความนิยมในการซื้อ-ขายที่ดิน มากถึง 15% เนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวและนักลงทุนเดินทางเข้ามาอันเป็นอันดับต้นของประเทศโดยเฉพาะชาวจีนและชาวรัสเซีย และพื้นที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ อย่างทำเล พัทยา, หัวหิน, เชียงใหม่ และสมุย ก็ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5% และมีราคาที่ดินสูงกว่าทำเลอื่น ๆ ของประเทศ ซึ่งแต่ละทำเลก็มีความโดดเด่นไม่แพ้กัน และขึ้นอยู่กับความชอบและความต้องการของผู้ซื้อและนักลงทุนนั่นเอง

ราคาที่ดินเฉลี่ยใน 6 ทำเลเด่นของไทย ปี 2566

LAND-PRICE-OF-THE-6-REGIONS
อย่างไรก็ตามราคาที่ดินอาจมีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยหลายประการ เช่น ที่ตั้งของที่ดิน สภาพของที่ดิน ขนาดของที่ดิน และความต้องการซื้อ-ขายที่ดินในพื้นที่นั้น ๆ ดังนั้นข้อมูลราคาที่ดินจึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น สำหรับผู้ที่สนใจซื้อ-ขายที่ดินควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและรอบคอบก่อนการตัดสินใจ

สรุป

ราคาประเมินที่ดินและราคาที่ดินในทำเลเด่น 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, ภูเก็ต, พัทยา, หัวหิน, เชียงใหม่, และสมุย เป็นข้อมูลอับเดตล่าสุดในปี 2566 นี้ เป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงแนวโน้มของราคาที่ดิน ซึ่งคุณได้รู้ข้อมูลล่าสุดในราคาที่ดินของพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย อีกทั้งคุณยังสามารถเปรียบเทียบราคาที่ดินในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศไทย และท้ายที่สุดแล้วข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจลงทุนซื้อที่ดินได้ง่ายดายและสะดวกยิ่งขึ้น หากคุณสนใจหรือกำลังมองหาที่ดินทั่วประเทศไทย สามารถคลิกด้านล่างนี้เข้ามาชมตัวเลือกได้จากเว็บไซต์ของเราได้เลยค่ะ

ค้นหาที่ดินในฝันของคุณ

บทความก่อนหน้า
ทาวน์เฮ้าส์ VS. ทาวน์โฮม: ความแตกต่างที่คุณควรรู้
บทความถัดไป
MRR-MLR คืออะไร? ความแตกต่างของดอกเบี้ยบ้าน
  • Fazwaz Group Sites www.fazwaz.cn www.fazwaz.ru www.fazwaz.fr www.fazwaz.de www.fazwaz.es www.fazwaz.jp www.fazwaz.co.kr
    FazWaz.co.th จัดเก็บข้อมูลการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์จากผู้ใช้งานทุกคนผ่าน Cookies เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์การเข้าใช้งาน และเพื่อนำไปพัฒนาประสิทธิภาพให้กับผู้เข้าใช้งาน ซึ่งการใช้งานเว็บไซต์ FazWaz.co.th นี้ คุณยอมรับให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ โดยสมัครใจ ซึ่งคุณสามารถศึกษารายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับ Privacy Policy ได้
    รายละเอียดเพิ่มเติม